วิตฺตึ อาปชฺชติ ตตฺถ ฐิโต ตทธิมุตฺโต ตพฺพหุลวิหารี อปริหีโน
กาลํ กุรุมาโน เวหปฺผลานํ เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชติ เวหปฺผลานํ
ภิกฺขเว เทวานํ ปญฺจ กปฺปสตานิ อายุปฺปมาณํ ตตฺถ ปุถุชฺชโน
ยาวตายุกํ ฐตฺวา ยาวตกํ เตสํ เทวานํ อายุปฺปมาณํ ตํ สพฺพํ
เขเปตฺวา นิรยํปิ คจฺฉติ ติรจฺฉานโยนึปิ คจฺฉติ ปิตฺติวิสยํปิ คจฺฉติ
ภควโต ปน สาวโก ตตฺถ ยาวตายุกํ ฐตฺวา ยาวตกํ เตสํ เทวานํ
อายุปฺปมาณํ ตํ สพฺพํ เขเปตฺวา ตสฺมึเยว ภเว ปรินิพฺพายติ อยํ
โข ภิกฺขเว วิเสโส อยํ อธิปฺปายโส อิทํ นานากรณํ สุตวโต
อริยสาวกสฺส อสฺสุตวตา ปุถุชฺชเนน ยทิทํ คติยา อุปปตฺติยา สติ ฯ
อิเม โข ภิกฺขเว จตฺตาโร ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมินฺติ ฯ
[๑๒๔] จตฺตาโรเม ภิกฺขเว ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ
กตเม จตฺตาโร อิธ ภิกฺขเว เอกจฺโจ ปุคฺคโล วิวิจฺเจว กาเมหิ
วิวิจฺจ อกุสเลหิ ธมฺเมหิ สวิตกฺกํ สวิจารํ วิเวกชํ ปีติสุขํ ปฐมํ
ฌานํ อุปสมฺปชฺช วิหรติ โส ยเทว ตตฺถ โหติ รูปคตํ เวทนาคตํ
สญฺญาคตํ สงฺขารคตํ วิญฺญาณคตํ เต ธมฺเม อนิจฺจโต ทุกฺขโต
โรคโต คณฺฑโต สลฺลโต อฆโต อาพาธโต ปรโต ปโลกโต สุญฺญโต
อนตฺตโต สมนุปสฺสติ โส กายสฺส เภทา ปรมฺมรณา สุทฺธาวาสาน
เทวานํ สหพฺยตํ อุปปชฺชติ อยํ โข ภิกฺขเว อุปปตฺติ อสาธารณา
ปุถุชฺชเนหิ ฯ ปุน จปรํ ภิกฺขเว อิเธกจฺโจ ปุคฺคโล วิตกฺกวิจารานํ
วูปสมา ฯเปฯ ทุติยํ ฌานํ ฯเปฯ ตติยํ ฌานํ ฯเปฯ จตุตฺถํ
ใจไปในจตุตถฌานนั้น อยู่จนคุ้นด้วยจตุตถฌานนั้น ไม่เสื่อม เมื่อกระทำกาละ ย่อมเข้าถึงความเป็น
สหายของเทวดาเหล่าเวหัปผละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ๕๐๐ กัปเป็นประมาณอายุของเทวดาเหล่าเวหัปผละ
ปุถุชนดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่านั้น
ให้สิ้นไปแล้ว ย่อมเข้าถึงนรกบ้าง กำเนิดดิรัจฉานบ้าง เปรตวิสัยบ้าง ส่วนสาวกของพระผู้มี
พระภาค ดำรงอยู่ในชั้นเวหัปผละนั้น ตราบเท่าตลอดอายุ ยังประมาณอายุทั้งหมดของเทวดาเหล่า
นั้นให้สิ้นไปแล้ว ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความพิเศษผิดแผก
แตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับกับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ คือ ในเมื่อคติ อุบัติมีอยู่ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๓
ฌานสูตรที่ ๒
[๑๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้ มีปรากฏอยู่ในโลก๔ จำพวกเป็น
ไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มี
วิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ รูป เวทนาสัญญา สังขาร และวิญญาณอันใด มีอยู่ในปฐมฌาน
นั้น บุคคลนั้นพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นโดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดัง
หัวฝีเป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียน เป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลาย
ไป เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตน บุคคลนั้นเมื่อตายไปย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดา
เหล่าสุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ฯ
อีกประการหนึ่ง บุคคลบางคนในโลกนี้ บรรลุทุติยฌาน ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุ
จตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขา
เป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณอันใด มีอยู่ในจตุตถฌานนั้น บุคคล
นั้นย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นดังโรค เป็นดังหัวฝี
เป็นดังลูกศร เป็นของทนได้ยาก เป็นของเบียดเบียนเป็นของไม่เชื่อฟัง เป็นของต้องทำลายไป
เป็นของว่างเปล่า เป็นของไม่ใช่ตนบุคคลนั้นเมื่อตายไป ย่อมเข้าถึงความเป็นสหายของเทวดาเหล่า
สุทธาวาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความอุบัตินี้แลไม่ทั่วไปด้วยปุถุชน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔
จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
จบสูตรที่ ๔