๓. สักกายสูตร
ว่าด้วยสักกายะตามแนวอริยสัจธรรม
[๒๘๔] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงสักายะ สักกายสมุทัย
สักกายนิโรธ และสักกายนิโรธคามินีปฏิปทา แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายะเป็นไฉน? คำว่าสักกายะนั้น ควรจะกล่าวว่า
อุปาทานขันธ์ ๕. อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นไฉน? อุปาทานขันธ์ ๕ นั้น ได้แก่ อุปาทานขันธ์คือรูป
ฯลฯ อุปาทานขันธ์คือวิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายะ.
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายสมุทัยเป็นไฉน? สักกายสมุทัยนั้นคือ ตัณหา
อันนำให้เกิดในภพใหม่ ประกอบด้วยความกำหนัด ด้วยอำนาจความเพลิดเพลินยิ่งในภพหรือ
อารมณ์นั้น. กล่าวคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สักกายสมุทัย.
[๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธเป็นไฉน? คือความดับโดยไม่เหลือแห่ง
ตัณหานั้นแล ด้วยมรรค คือ วิราคะ ความสละ ความสละคืน ความหลุดพ้น ความไม่อาลัย.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า สักกายนิโรธ.
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สักกายนิโรธคามินีปฏิปทาเป็นไฉน? คือ อริยมรรค
ประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ กล่าวคือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า
สักกายนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๓.
๔. ปริญเญยยตสูร
ว่าด้วยธรรมที่ควรกำหนดรู้
[๒๘๙] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงธรรมที่ควรกำหนดรู้ ความ
กำหนดรู้ และบุคคลผู้กำหนดรู้แล้ว แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง.
[๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ธรรมที่ควรกำหนดรู้เป็นไฉน? คือ รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่า ธรรมที่ควรกำหนดรู้.