โยคะ คันถะ อุปาทาน ความกั้น ความปิด ความบัง ความผูก ความเข้าไปเศร้าหมอง
ความนอนเนื่อง ความกลุ้มรุมจิต ความเป็นดังว่าเถาวัลย์ ความปรารถนาวัตถุต่างๆ รากเง่า
แห่งทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ แดนเกิดแห่งทุกข์ บ่วงมาร เบ็ดมาร วิสัยมาร แม่น้ำ ตัณหา
ข่ายตัณหา โซ่ตัณหา สมุทรตัณหา อภิชฌา โลภะ อกุศลมูล. คำว่า เพราะเหตุแห่งความ
ปรารถนา คือ เพราะเหตุแห่งความปรารถนา เพราะความปรารถนาเป็นเหตุ เพราะความ
ปรารถนาเป็นปัจจัย เพราะความปรารถนาเป็นตัวการ เพราะความปรารถนาเป็นแดนเกิด ฉะนั้น
จึงชื่อว่า เพราะเหตุแห่งความปรารถนา
คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ความแช่มชื่นในภพอย่างหนึ่ง ได้แก่
สุขเวทนา. ความแช่มชื่นในภพ ๒ อย่าง ได้แก่สุขเวทนา ๑ วัตถุที่ปรารถนา ๑. ความแช่มชื่น
ในภพ ๓ อย่าง ได้แก่ ความเป็นหนุ่มสาว ๑ ความไม่มีโรค ๑ ชีวิต ๑. ความแช่มชื่นในภพ ๔
อย่าง ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข. ความแช่มชื่นในภพ ๕ อย่าง ได้แก่ รูป เสียง
กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ. ความแช่มชื่นในภพ ๖ อย่าง ได้แก่ ความถึงพร้อมแห่ง
จักษุ ความถึงพร้อมแห่งโสต ความถึงพร้อมแห่งฆานะ ความถึงพร้อมแห่งชิวหา ความถึง
พร้อมแห่งกาย ความถึงพร้อมแห่งใจ. คำว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ คือ ติดพัน
ในสุขเวทนา ติดพันในวัตถุที่ปรารถนา ติดพันในความเป็นหนุ่มสาว ติดพันในความไม่มีโรค
ติดพันในชีวิต ติดพันในลาภ ติดพันในยศ ติดพันในสรรเสริญ ติดพันในสุข ติดพันในรูป
ติดพันในเสียง ติดพันในกลิ่นติดพันในรส ติดพันในโผฏฐัพพะ ที่น่าพอใจ ติดพันคือ
เกี่ยวพัน ผูกพัน ข้อง เกี่ยว หมกมุ่น ในความถึงพร้อมแห่งจักษุ ในความถึงพร้อม
แห่งโสต ในความถึงพร้อมแห่งฆานะ ในความถึงพร้อมแห่งชิวหา ในความถึงพร้อมแห่งกาย
ในความถึงพร้อมแห่งใจ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า ผู้ติดพันด้วยความแช่มชื่นในภพ เพราะเหตุ
แห่งความปรารถนา.
[๓๗] คำว่า สัตว์เหล่านั้น เป็นผู้หลุดพ้นได้ยาก และไม่ยังบุคคลอื่นให้หลุดพ้น
มีความว่า ธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพ เหล่านั้นอันสัตว์หลุดพ้นได้ยาก หรือสัตว์
เหล่านั้นเป็นผู้หลุดพ้นได้ยากจากธรรมที่เป็นวัตถุแห่งความแช่มชื่นในภพเหล่านั้น.