๔. สุสสูสาสูตร
[๓๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ แม้ฟังสัทธรรมอยู่
ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบในกุศลธรรมทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการ
เป็นไฉน คือ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ก็ไม่ฟังด้วยดี ๑
ไม่เงี่ยโสตลงฟัง ๑ไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ ถือเอาแต่สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ๑ ทิ้งสิ่งที่เป็น
ประโยชน์ ๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่ไม่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลายบุคคลผู้ประกอบ
ด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความ
เป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการแม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้
ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ในกุศลธรรมทั้งหลายธรรม ๖ ประการเป็นไฉน
คือ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันบุคคลอื่นแสดงอยู่ ย่อมฟังด้วยดี ๑ ย่อมเงี่ยโสต
ลงฟัง ๑ เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ทั่วถึง ๑ถือเอาแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑ ละทิ้งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์
๑ และเป็นผู้ประกอบด้วยขันติที่สมควร ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบด้วยธรรม ๖
ประการนี้แล แม้ฟังสัทธรรมอยู่ ก็เป็นผู้ควรเพื่อก้าวลงสู่ความแน่นอน ความเป็นชอบ ใน
กุศลธรรมทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. ปหาตัพพสูตร
[๓๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลไม่ละธรรม ๖ ประการ ย่อมเป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำ
ให้แจ้งซึ่งทิฏฐิสัมปทา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน คือ สักกายทิฐิ ๑ วิจิกิจฉา ๑ สีลัพ
พตประมาส ๑ ราคะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ โทสะที่เป็นเหตุไปสู่อบาย ๑ และโมหะที่เป็นเหตุ