นั้นแล ลุกลามต่อไปในที่นั้นการละมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการ
เช่นนี้ ความไม่ลุกลามต่อไปของมูลเหตุแห่งความวิวาทอันลามกนี้ ย่อมมีได้ด้วยอาการเช่นนี้
ดูกรอานนท์เหล่านี้แล มูลเหตุแห่งความวิวาท ๖ อย่าง ฯ
[๕๗] ดูกรอานนท์ อธิกรณ์นี้มี ๔ อย่าง ๔ อย่างเป็นไฉน คือ วิวาทาธิกรณ์
อนุวาทาธิกรณ์ อาปัตตาธิกรณ์ กิจจาธิกรณ์ ดูกรอานนท์ เหล่านี้แลอธิกรณ์ ๔ อย่าง ฯ
ดูกรอานนท์ ก็อธิกรณ์สมถะนี้มี ๗ อย่างแล คือ เพื่อระงับอธิกรณ์อันเกิดแล้วๆ
สงฆ์พึงใช้สัมมุขาวินัย สติวินัย อมุฬหวินัย ปฏิญญาตกรณะเยภุยยสิกา ตัสสปาปิยสิกา
ติณวัตถารกะ ฯ
[๕๘] ดูกรอานนท์ ก็สัมมุขาวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อม
วิวาทกัน ว่าเป็นธรรมหรือมิใช่ธรรม ว่าเป็นวินัยหรือมิใช่วินัย ดูกร อานนท์ ภิกษุเหล่านั้น
ทั้งหมดแล พึงพร้อมเพรียงกันประชุมพิจารณาแบบแผนธรรม ครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์
นั้นระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นสัมมุขา
วินัย ก็แหละความระงับอธิกรณ์บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยสัมมุขาวินัยอย่างนี้ ฯ
[๕๙] ดูกรอานนท์ ก็เยภุยยสิกาเป็นอย่างไร คือ ภิกษุเหล่านั้นไม่อาจ ระงับอธิกรณ์
นั้นในอาวาสนั้นได้ พึงพากันไปยังอาวาสที่มีภิกษุมากกว่า ภิกษุทั้งหมดพึงพร้อมเพรียงกัน
ประชุมในอาวาสนั้น ครั้นแล้วพึงพิจารณาแบบแผนธรรมครั้นพิจารณาแล้ว พึงให้อธิกรณ์นั้น
ระงับโดยอาการที่เรื่องลงกันได้ในแบบแผนธรรมนั้น ดูกรอานนท์ อย่างนี้แล เป็นเยภุยยสิกา
ก็แหละ ความระงับอธิกรณ์ บางอย่างในธรรมวินัยนี้ ย่อมมีได้ด้วยเยภุยยสิกาอย่างนี้ ฯ
[๖๐] ดูกรอานนท์ ก็สติวินัยเป็นอย่างไร คือ พวกภิกษุในธรรมวินัยนี้ โจทภิกษุ
ด้วยอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือ ปาราชิก หรือใกล้เคียงปาราชิกว่า ท่านผู้มีอายุระลึกได้หรือไม่ว่า
ท่านต้องอาบัติหนักเห็นปานนี้ คือปาราชิกหรือใกล้เคียงปาราชิกแล้ว ภิกษุนั้นตอบอย่างนี้ว่า