อารกฺขาย สิกฺขติ สญฺญมาย สิกฺขติ ทมาย สิกฺขติ อุปสมาย
สิกฺขติ ฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ อินฺทฺริเยสุ คุตฺตทฺวาโร โหติ
[๓๑๘] กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ โภชเน มตฺตญฺญู โหติ ฯ อิธ ภิกฺขเว
ภิกฺขุ ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหารํ อาหาเรติ เนว ทวาย น มทาย
น มณฺฑนาย น วิภูสนาย ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา
ยาปนาย วิหึสุปรติยา พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย อิติ ปุราณญฺจ เวทนํ
ปฏิหงฺขามิ นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ ยาตฺรา จ เม
ภวิสฺสติ อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว
ปุริโส วณํ อาลิมฺเปยฺย ยาวเทว เสวนตฺถาย ๑ เสยฺยถา วา
ปน อกฺขํ อพฺภญฺเชยฺย ยาวเทว ภารสฺส นิตฺถรณตฺถาย ฯ เอวเมว ๒
โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ ปฏิสงฺขา โยนิโส อาหารํ อาหาเรติ เนว ทวาย น
มทาย น มณฺฑนาย น วิภูสนาย ยาวเทว อิมสฺส กายสฺส ฐิติยา
ยาปนาย วิหึสุปรติยา พฺรหฺมจริยานุคฺคหาย อิติ ปุราณญฺจ เวทนํ
ปฏิหงฺขามิ นวญฺจ เวทนํ น อุปฺปาเทสฺสามิ ยาตฺรา จ เม
ภวิสฺสติ อนวชฺชตา จ ผาสุวิหาโร จาติ ฯ เอวํ โข ภิกฺขเว ภิกฺขุ
โภชเน มตฺตญฺญู โหติ ฯ
[๓๑๙] กถญฺจ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ชาคริยํ อนุยุตฺโต โหติ ฯ อิธ
ภิกฺขเว ภิกฺขุ ทิวสํ จงฺกเมน นิสชฺชาย อาวรณีเยหิ ธมฺเมหิ จิตฺตํ
ปริโสเธติ รตฺติยา ปฐมํ ยามํ จงฺกเมน นิสชฺชาย อาวรณีเยหิ
ธมฺเมหิ จิตฺตํ ปริโสเธติ รตฺติยา มชฺฌิมํ ยามํ ทกฺขิเณน ปสฺเสน
#๑ ม. โรหนตฺถาย ฯ ยุ. โรปนตฺถาย ฯ ๒ ม. ยุ. เอวํ ฯ
[๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะอย่างไร ภิกษุในธรรมวินัย
นี้ พิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความ
มัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่ง บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพ
ให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เรา
จักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีพให้เป็นไป ความไม่มีโทษและ
ความอยู่สบายจักมีแก่เราดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษพึงฉาบทาผิวกาย ก็เพียงเพื่อต้องการเสพ
หรือบุรุษพึงหยอดน้ำมันเพลารถก็เพียงเพื่อต้องการขนสิ่งของไปได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุพิจารณาโดยแยบคาย บริโภคอาหารด้วยมนสิการว่า เราไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อความ
มัวเมา เพื่อจะประดับ เพื่อจะตกแต่งผิว บริโภคเพียงเพื่อดำรงอยู่แห่งร่างกายนี้ เพื่อยังอัตภาพ
ให้เป็นไป เพื่อจะกำจัดความลำบาก เพื่ออนุเคราะห์พรหมจรรย์ ด้วยประการดังกล่าวมานี้ เรา
จักกำจัดเวทนาเก่าเสีย จักไม่ให้เวทนาใหม่เกิดขึ้น การยังชีให้เป็นไป ความไม่มีโทษและ
ความอยู่สบายจักมีแก่เราฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุชื่อว่าเป็นผู้รู้ประมาณใน
โภชนะอย่างนี้แล ฯ
[๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลา
กลางวัน พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วย
การเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่ง ราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อน
เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุก
ขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓
ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้น
อาสวะทั้งหลาย ฯ
จบสูตรที่ ๒