สทฺธมฺมา ฯ อิเม โข ภิกฺขเว อฏฺฐ ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา
โลกสฺมินฺติ ฯ
[๑๕๒] ๖๒ ฉหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน
อลํ ปเรสํ ฯ กตเมหิ ฉหิ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ขิปฺปนิสนฺติ
จ โหติ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สุตานญฺจ ธมฺมานํ ธารกชาติโก ๑ โหติ
ธตานญฺจ ธมฺมานํ อตฺถุปปริกฺขี โหติ อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย
ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน จ โหติ กลฺยาณวาโจ จ โหติ กลฺยาณวากฺกรโณ
โปริยา วาจาย สมนฺนาคโต วิสฺสฏฺฐาย อเนลคฬาย
อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา สนฺทสฺสโก จ โหติ สมาทปโก สมุตฺเตชโก
สมฺปหํสโก สพฺรหฺมจารีนํ ฯ อิเมหิ โข ภิกฺขเว ฉหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน อลํ ปเรสํ ฯ
[๑๕๓] ๖๓ ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน
อลํ ปเรสํ ฯ กตเมหิ ปญฺจหิ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ น เหว โข
ขิปฺปนิสนฺติ จ โหติ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สุตานญฺจ ธมฺมานํ ธารกชาติโก
โหติ ธตานญฺจ ธมฺมานํ อตฺถุปปริกฺขี โหติ อตฺถมญฺญาย
ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน จ โหติ กลฺยาณวาโจ จ
โหติ ฯเปฯ อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา สนฺทสฺสโก จ โหติ
สมาทปโก สมุตฺเตชโก สมฺปหํสโก สพฺรหฺมจารีนํ ฯ อิเมหิ โข ภิกฺขเว
ปญฺจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน อลํ ปเรสํ ฯ
#๑ ม. ธารณชาติโก ฯ เอวมุปริปิ ฯ
อลํสูตรที่ ๑
[๑๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการ เป็นผู้สามารถในอัน
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนและผู้อื่น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑ เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟัง
แล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่
ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย
ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
ร่าเริง ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แลเป็นผู้สามารถในอัน
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๒
อลํสูตรที่ ๒
[๑๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ เป็นผู้สามารถในอัน
ปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนและผู้อื่น ธรรม ๕ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่มีความเข้าใจได้เร็วในอกุศลธรรมทั้งหลาย แต่เป็นผู้ทรงจำธรรมที่
ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรมที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควร
แก่ธรรม ๑ เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของชาวเมืองอันสละสลวย
ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจงสพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานให้อาจหาญร่าเริง ๑
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แลเป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น ฯ
จบสูตรที่ ๓