กุเล ชายมาโน พหุโน ชนสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย โหติ มาตาปิตูนํ
อตฺถาย หิตาย สุขาย โหติ ปุตฺตทารสฺส อตฺถาย หิตาย
สุขาย โหติ ทาสกมฺมกรโปริสสฺส อตฺถาย หิตาย สุขาย โหติ
มิตฺตามจฺจานํ อตฺถาย หิตาย สุขาย โหติ สมณพฺราหฺมณานํ
อตฺถาย หิตาย สุขาย โหตีติ ฯ
หิโต พหุนฺนํ ปฏิปชฺช โภเค
ตํ เทวตา รกฺขติ ธมฺมคุตฺตํ
พหุสฺสุตํ สีลวตูปปนฺนํ
ธมฺเม ฐิตํ น วิชหาติ ๑ กิตฺติ ฯ
ธมฺมฏฺฐํ สีลสมฺปนฺนํ สจฺจวาทึ หิรีมนํ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโตติ ฯ
[๔๓] อถโข อนาถปิณฺฑิโก คหปติ เยน ภควา เตนุปสงฺกมิ
อุปสงฺกมิตฺวา ภควนฺตํ อภิวาเทตฺวา เอกมนฺตํ นิสีทิ ฯ
เอกมนฺตํ นิสินฺนํ โข อนาถปิณฺฑิกํ คหปตึ ภควา เอตทโวจ ปญฺจิเม
คหปติ ธมฺมา อิฏฺฐา กนฺตา มนาปา ทุลฺลภา โลกสฺมึ กตเม
ปญฺจ อายุ คหปติ อิฏฺโฐ กนฺโต มนาโป ทุลฺลโภ โลกสฺมึ
วณฺโณ อิฏฺโฐ กนฺโต มนาโป ทุลฺลโภ โลกสฺมึ สุขํ อิฏฺฐํ
กนฺตํ มนาปํ ทุลฺลภํ โลกสฺมึ ยโส อิฏฺโฐ กนฺโต มนาโป ทุลฺลโภ
โลกสฺมึ สคฺคา อิฏฺฐา กนฺตา มนาปา ทุลฺลภา โลกสฺมึ ฯ
#๑ ม. วิชหติ ฯ
และสมณพราหมณ์ เปรียบเหมือนมหาเมฆทำข้าวกล้าทั้งปวงให้งอกงาม ชื่อว่ามี
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อสุขแก่คนหมู่มาก
สัตบุรุษครอบครองโภคทรัพย์
เป็นผู้เกื้อกูลแก่คนหมู่มาก
เทวดาย่อมรักษาเขาผู้มีธรรมคุ้มครองแล้ว
เป็นพหูสูต สมบูรณ์ด้วยศีลและวัตร
เกียรติย่อมไม่ละเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
ใครเล่าจะสามารถติเตียนเขาผู้ตั้งอยู่ในธรรม
สมบูรณ์ด้วยศีล มีวาจาสัตย์
มีหิริ(ความละอายต่อบาป)ในใจ
ดุจแท่งทองชมพูนุท
แม้เทวดาก็ชม ถึงพรหมก็สรรเสริญเขา
สัปปุริสสูตรที่ ๒ จบ
๓. อิฏฐสูตร
ว่าด้วยธรรมที่น่าปรารถนา
{๔๓}[๔๓] ครั้งนั้น อนาถบิณฑิกคหบดีเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายอภิวาทแล้วนั่ง ณ ที่สมควร พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสกับอนาถบิณฑิกคหบดี
ดังนี้ว่า
คหบดี ธรรม ๕ ประการนี้ ที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
ธรรม ๕ ประการ อะไรบ้าง คือ
๑. อายุที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๒. วรรณะที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก
๓. สุขที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ หาได้ยากในโลก