ภวิสฺสติ ฯเปฯ ชิวฺหา น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ ฯ สา โว
ปหีนา หิตาย สุขาย ภวิสฺสติ ฯเปฯ มโน น ตุมฺหากํ ตํ
ปชหถ โส โว ปหีโน หิตาย สุขาย ภวิสฺสติ ฯ เสยฺยถาปิ
ภิกฺขเว ยํ อิมสฺมึ เชตวเน ติณกฏฺฐสาขาปลาสํ ตํ ชโน หเรยฺย
วา ฑเหยฺย วา ยถาปจฺจยํ วา กเรยฺย อปิ นุ ตุมฺหากํ
เอวมสฺส อเมฺห ชโน หรติ วา ฑหติ วา ยถาปจฺจยํ วา
กโรตีติ ฯ โน เหตํ ภนฺเต ฯ ตํ กิสฺส เหตุ ฯ น หิ โน เอตํ
ภนฺเต อตฺตา วา อตฺตนิยํ วาติ ฯ เอวเมว โข ภิกฺขเว จกฺขุํ
น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ ตํ โว ปหีนํ หิตาย สุขาย ภวิสฺสติ
ฯเปฯ ชิวฺหา น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ สา โว ปหีนา
หิตาย สุขาย ภวิสฺสติ ฯเปฯ มโน น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ
โส โว ปหีโน หิตาย สุขาย ภวิสฺสตีติ ฯ ปญฺจมํ ฯ
[๒๒๐] ยํ ภิกฺขเว น ตุมฺหากํ ตํ ปชหถ ตํ โว ปหีนํ
หิตาย สุขาย ภวิสฺสติ ฯ กิญฺจ ภิกฺขเว น ตุมฺหากํ ฯ รูปา
ภิกฺขเว น ตุมฺหากํ เต ปชหถ เต โว ปหีนา หิตาย สุขาย
ภวิสฺสนฺติ ฯ สทฺทา คนฺธา รสา โผฏฺฐพฺพา ธมฺมา น
ตุมฺหากํ เต ปหชถ เต โว ปหีนา หิตาย สุขาย ภวิสฺสนฺติ ฯ
เสยฺยถาปิ ภิกฺขเว ยํ อิมสฺมึ เชตวเน ติณกฏฺฐสาขาปลาสํ ฯเปฯ
เอวเมว โข ภิกฺขเว รูปา น ตุมฺหากํ เต ปชหถ เต โว ปหีนา
หิตาย สุขาย ภวิสฺสนฺติ ฯ สทฺทา คนฺธา รสา โผฏฺฐพฺพา
๖. ทุติยนตุมหากสูตร
ว่าด้วยอายตนะภายนอก ๖ ไม่ใช่ของตน
[๒๒๐] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอ
ทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อ
ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อะไรเล่าไม่ใช่ของ
เธอทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย
รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์ไม่ใช่ของเธอทั้งหลาย
เธอทั้งหลายจงละธรรมารมณ์นั้นเสีย ธรรมารมณ์นั้นอันเธอทั้งหลายละ
ได้แล้ว จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ชนพึงนำหญ้าไม้ กิ่งไม้และใบไม้ที่มีอยู่ในเชตวันนี้ไป หรือพึงเผา หรือ
พึงทำตามสมความแก่เหตุ เธอทั้งหลายพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ชนนำพวก
เราไป หรือเผา หรือทำตามสมควรแก่เหตุ ดังนี้ บ้างหรือหนอ. ภิกษุ
ทั้งหลาย กราบทูลว่า หาเป็นดังนั้นไม่ พระเจ้าข้า.
พ. ข้อนั้น เพราะเหตุอะไร.
ภิ. เพราะเหตุว่า หญ้าเป็นต้นต้นนั้นมิได้เป็นตน หรือเป็นของ
เนื่องด้วยตนของข้าพระองค์ทั้งหลายเลย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล รูปไม่ใช่ของเธอ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นอันเธอทั้งหลายละได้แล้ว
จักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุข เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ