สทฺธมฺมา ฯ อิเม โข ภิกฺขเว อฏฺฐ ปุคฺคลา สนฺโต สํวิชฺชมานา
โลกสฺมินฺติ ฯ
[๑๕๒] ๖๒ ฉหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน
อลํ ปเรสํ ฯ กตเมหิ ฉหิ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ ขิปฺปนิสนฺติ
จ โหติ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สุตานญฺจ ธมฺมานํ ธารกชาติโก ๑ โหติ
ธตานญฺจ ธมฺมานํ อตฺถุปปริกฺขี โหติ อตฺถมญฺญาย ธมฺมมญฺญาย
ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน จ โหติ กลฺยาณวาโจ จ โหติ กลฺยาณวากฺกรโณ
โปริยา วาจาย สมนฺนาคโต วิสฺสฏฺฐาย อเนลคฬาย
อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา สนฺทสฺสโก จ โหติ สมาทปโก สมุตฺเตชโก
สมฺปหํสโก สพฺรหฺมจารีนํ ฯ อิเมหิ โข ภิกฺขเว ฉหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต
ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน อลํ ปเรสํ ฯ
[๑๕๓] ๖๓ ปญฺจหิ ภิกฺขเว ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน
อลํ ปเรสํ ฯ กตเมหิ ปญฺจหิ อิธ ภิกฺขเว ภิกฺขุ น เหว โข
ขิปฺปนิสนฺติ จ โหติ กุสเลสุ ธมฺเมสุ สุตานญฺจ ธมฺมานํ ธารกชาติโก
โหติ ธตานญฺจ ธมฺมานํ อตฺถุปปริกฺขี โหติ อตฺถมญฺญาย
ธมฺมมญฺญาย ธมฺมานุธมฺมปฏิปนฺโน จ โหติ กลฺยาณวาโจ จ
โหติ ฯเปฯ อตฺถสฺส วิญฺญาปนิยา สนฺทสฺสโก จ โหติ
สมาทปโก สมุตฺเตชโก สมฺปหํสโก สพฺรหฺมจารีนํ ฯ อิเมหิ โข ภิกฺขเว
ปญฺจหิ ธมฺเมหิ สมนฺนาคโต ภิกฺขุ อลํ อตฺตโน อลํ ปเรสํ ฯ
#๑ ม. ธารณชาติโก ฯ เอวมุปริปิ ฯ
๒. ปฐมอลังสูตร
[๑๕๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖
ประการ เป็นผู้สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตน
และผู้อื่น ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีความเข้าใจได้เร็วในกุศลธรรมทั้งหลาย ๑
เป็นผู้ทรงจำธรรมที่ได้ฟังแล้ว ๑ พิจารณาเนื้อความแห่งธรรม
ที่ทรงจำแล้ว ๑ รู้อรรถรู้ธรรมแล้วปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ๑
เป็นผู้มีวาจางาม กล่าวถ้อยคำไพเราะ ประกอบด้วยวาจาของ
ชาวเมืองอันสละสลวย ไม่มีโทษ ให้รู้ประโยชน์ ๑ เป็นผู้ชี้แจ้ง
สพรหมจารีให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญร่าเริง ๑ ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๖ ประการนี้แล เป็นผู้
สามารถในอันปฏิบัติเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น.
จบ ปฐมอลังสูตรที่ ๒