คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน] คำว่า นางเนื้อ
ต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความ
ปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า ทางอัน
ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการซึ่งเป็น
ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ
๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.
[๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย
ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ]
ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่า
สาวกจะพึงทำ กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือน
ว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็น
คำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ
พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ เทฺวธาวิตักกสูตร ที่ ๙
___________________________________
มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑
มิจฉาสมาธิ ๑. คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ (ความกำหนัด
ด้วยความเพลิน). คำว่า นางเนื้อต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา. คำว่า บุรุษคน
ที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความปลอดภัย (แก่เนื้อเหล่านั้น)
นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คำว่า ทางอันปลอดภัยสะดวก
ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ ซึ่งเป็น
ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมา
กัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑.
[๒๕๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอัน
ว่าทางอันปลอดภัยซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความ
ปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้
แล้วทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้
แสวงหาประโยชน์ เกื้อกูลเอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่าสาวกจะพึง
ทำ กิจอันนั้น เราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้
นั่นเรือนว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มี
ความเดือดร้อนในภายหลัง. นี้เป็นคำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมิใจ
ชื่นชมยินดีภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วแล.
จบ เทวธาวิตักกสูตร ที่ ๙