ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็นที่กาง
กั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ ฯ
[๔๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพีนี้ให้เป็นก้อน ก้อนละ
เท่าเม็ดกระเบาแล้ววางไว้ สมมติว่า นี้เป็นบิดาของเรา นี้เป็นบิดาของบิดาของเรา โดยลำดับ
บิดาของบิดาแห่งบุรุษนั้นไม่พึงสิ้นสุด ส่วนมหาปฐพีนี้ พึงถึงการหมดสิ้นไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ ที่สุดเบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ
พวกเธอได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้า ตลอดกาลนาน
เหมือนฉะนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๒
๓. อัสสุสูตร
[๔๒๕] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย ... แล้วได้ตรัสว่า ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้น
เป็นไฉน น้ำตาที่หลั่งไหลของพวกเธอผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญร้องไห้อยู่ เพราะประสบสิ่งที่
ไม่พอใจ เพราะพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้ กับน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔สิ่งไหนจะ
มากกว่ากัน ฯ
ภิกษุเหล่านั้นทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์ ย่อมทราบธรรมตามที่พระ
ผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วว่า น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกข้าพระองค์ ผู้ท่องเที่ยวไปมา คร่ำครวญ
ร้องไห้อยู่ เพราะการประสบสิ่งที่ไม่พอใจเพราะการพลัดพรากจากสิ่งที่พอใจ โดยกาลนานนี้
แหละ มากกว่า ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย ฯ
[๔๒๖] พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถูกละๆ พวกเธอทราบธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้
ถูกแล้ว น้ำตาที่หลั่งไหลออกของพวกเธอ ผู้ท่องเที่ยวไปมา ฯลฯโดยกาลนานนี้แหละ มากกว่า
ส่วนน้ำในมหาสมุทรทั้ง ๔ ไม่มากกว่าเลย พวกเธอได้ประสบมรณกรรมของมารดาตลอดกาลนาน
ประโยชน์เหล่านั้น จะมีประมาณเช่นนั้นก็หามิได้. ส่วนในพุทธสมัย
อุปมามีน้อย. ประโยชน์มีมาก. แท้จริง เพราะในบาลีที่ท่านถือเอาชมพูทวีป
แห่งเดียว. หญ้าเป็นต้น พึงถึงการหมดสิ้นไป ด้วยความพยายามของ
ชาวชมพูทวีปเห็นปานนี้ในร้อยบ้าง พันปีบ้าง แสนปีบ้าง. ส่วนมารดา
ของคน พึงถึงการหมดสิ้นไป ก็หามิได้แล. บทว่า ทุกฺขํ ปจฺจนุภูตํ
ได้แก่ ท่านเสวยทุกข์. บทว่า ติปฺปํ เป็นไวพจน์ของบทว่า อนุภูตํ
นั้นแล. บทว่า พฺยสนํ ได้แก่ หลายอย่างมีความเสื่อมแห่งญาติเป็นต้น.
บทว่า กฏสิ ได้แก่ ปฐพีที่เป็นป่าช้า. สัตว์เหล่านั้น เมื่อตายบ่อย ๆ
ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้านั้น ด้วยการทิ้งสรีระไว้. บทว่า อลํ แปลว่า
พอเท่านั้น.
จบอรรถกถาติณกัฏฐสูตรที่ ๑
๒. ปฐวีสูตร
ว่าด้วยการกำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายของสงสาร
[๔๒๓] พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี กรุงสาวัตถี. ครั้งนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย. . . แล้วได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชาเป็น
ที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุด
เบื้องต้นย่อมไม่ปรากฏ.
[๔๒๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า บุรุษปั้นมหาปฐพี