พระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า ส่วนเทวดาชั้น
ปรนิมมิตวสวัสดีเหล่าใด ประกอบด้วยความเลื่อมใสอันไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้า ... ใน
พระธรรม ... ในพระสงฆ์ ประกอบด้วยศีลที่พระอริยเจ้าพอใจ เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัสดีเหล่านั้น
ย่อมมีญาณอย่างนี้ว่า เราเป็นพระโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้
เป็นเบื้องหน้า ฯ
ลำดับนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของติสสพรหมแล้ว
หายจากพรหมโลก ไปปรากฏ ณ พระวิหารเชตวัน เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีกำลังพึงเหยียดแขนที่คู้
หรือพึงคู้แขนที่เหยียด ฉะนั้น ฯ
จบสูตรที่ ๔
๕. วิชชาภาคิยสูตร
[๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปในส่วนแห่งวิชชา ธรรม
๖ ประการเป็นไฉน คือ อนิจจสัญญา ๑ อนิจเจทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหาน
สัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑ นิโรธสัญญา ๑ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็น
ไปในส่วนแห่งวิชชา ฯ
จบสูตรที่ ๕
๖. วิวาทมูลสูตร
[๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มูลเหตุแห่งการวิวาท ๖ ประการนี้ ๖ ประการเป็นไฉน
คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้มักโกรธ ผูกโกรธไว้ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใดย่อมเป็นผู้
มักโกรธ ผูกโกรธไว้ ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ไม่มีความเคารพ ไม่มีความยำเกรงแม้ในพระศาสดา ...
แม้ในพระธรรม ... แม้ในพระสงฆ์ เป็นผู้ไม่ทำให้บริบูรณ์แม้ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ
ผู้ไม่เคารพไม่ยำเกรงในพระศาสดา ... ในพระธรรม ... ในพระสงฆ์ ไม่กระทำให้บริบูรณ์ใน
สิกขา ย่อมก่อการวิวาทให้เกิดขึ้นในสงฆ์ ซึ่งเป็นไปเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนหมู่มาก
๕. วิชชาภาคิยสูตร
ว่าด้วยธรรมเป็นส่วนให้เกิดวิชชา
[๓๐๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้ ย่อมเป็นไปใน
ส่วนแห่งวิชชา ธรรม ๖ ประการเป็นไฉน ? คืออนิจจสัญญา ๑ อนิจเจ-
ทุกขสัญญา ๑ ทุกเขอนัตตสัญญา ๑ ปหานสัญญา ๑ วิราคสัญญา ๑
นิโรธสัญญา ๑.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๖ ประการนี้แล ย่อมเป็นไปในส่วน
แห่งวิชชา.
จบวิชชาภาคิยสูตรที่ ๕
อรรถกถาวิชชาภาคิยสูตร
พึงทราบวินิจฉัยในวิชชาภาคิยสูตรที่ ๕ ดังต่อไปนี้:-
บทว่า วิชฺชาภาคิยา ความว่า เป็นธรรมที่เป็นไปในส่วนของวิชชา.
สัญญาที่เกิดขึ้นในอนิจจานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจจสัญญา. สัญญาที่เกิด
ขึ้นในทุกขานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า อนิจเจ ทุกขสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้น
ในอนัตตานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ทุกเข อนัตตสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นใน
ปหานานุปัสสนาญาณ ชื่อว่า ปหานสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในวิราคา-
นุปัสสนาญาณ ชื่อว่า วิราคสัญญา. สัญญาที่เกิดขึ้นในนิโรธานุปัสสนาญาณ
ชื่อว่า นิโรธสัญญา.
จบอรรถกถาวิชชาภาคิยสูตรที่ ๕