เมื่อผ้าหรือศีรษะถูกไฟไหม้แล้ว ควรจะกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความ
ไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อดับผ้าหรือศีรษะนั้น.
พ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลพึงวางเฉย ไม่ใส่ใจถึงผ้าหรือศีรษะที่ถูกไฟไหม้ แล้ว
พึงกระทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความไม่ย่นย่อ ความไม่ท้อถอย สติและ
สัมปชัญญะอย่างแรงกล้า เพื่อตรัสรู้อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ตรัสรู้ตามความเป็นจริง อริยสัจ ๔ เป็น
ไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น
แหละ เธอทั้งหลายพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินี
ปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๔
สัตติสตสูตร
ว่าด้วยการตรัสรู้อริยสัจ ๔
[๑๗๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีอายุร้อยปี พึงกล่าวอย่างนี้กะผู้มี
ชีวิตอยู่ร้อยปีว่า มาเถิด บุรุษผู้เจริญ ชนทั้งหลายจักเอาหอกร้อยเล่มทิ่มแทงท่าน ในเวลาเช้า ...
ในเวลาเที่ยง ... ในเวลาเย็น ท่านนั้นถูกเขาเอาหอกสามร้อยเล่มทิ่มแทงอยู่ทุกวันๆ มีอายุร้อยปี
มีชีวิตอยู่ร้อยปี จักตรัสรู้ อริยสัจ ๔ ที่ยังไม่ได้ตรัสรู้โดยล่วงร้อยปีไป กุลบุตรผู้เป็นไปในอำนาจ
แห่งประโยชน์ควรจะรับเอา ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะว่าสงสารนี้มีเบื้องต้นที่สุดอันบุคคลไป
ตามอยู่รู้ไม่ได้แล้ว เบื้องต้นที่สุดแห่งการประหารด้วยหอก ดาบ หลาว และขวานย่อมไม่ปรากฏ
ฉันใด ก็ข้อนี้พึงมีได้ฉันนั้นว่า ก็เราไม่กล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยทุกข์ โทมนัส
แต่เรากล่าวการตรัสรู้อริยสัจ ๔ พร้อมด้วยสุข โสมนัส อริยสัจ ๔ เป็นไฉน? คือ ทุกขอริยสัจ
ฯลฯ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้นแหละ เธอทั้งหลายพึง
กระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๕
ปาณสูตร
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิพ้นจากอบายใหญ่
[๑๗๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงตัดหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้
ในชมพูทวีปนี้ แล้วรวบรวมเข้าด้วยกัน ครั้นแล้วกระทำให้เป็นหลาว ครั้นกระทำให้เป็นหลาว