ผืนๆ ใดผืนหนึ่งไว้ในละแวกบ้านได้. และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น
จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น, ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง, ถ้าเธออยู่
ปราศยิ่งกว่านั้น เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ, เป็นนิสสัคคิยปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุหลายรูป จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๑๖๖] บทว่า อนึ่ง ... จำพรรษาแล้ว คือ ภิกษุออกพรรษาแล้ว. วันเพ็ญเดือน ๑๒
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ตรงกับวันปุรณมีดิถีเป็นที่เต็ม ๔ เดือน ในกัตติกมาส.
คำว่า เสนาสนะป่า เป็นต้น ความว่า เสนาสนะที่ชื่อว่า ป่านั้นมีระยะไกล ๕๐๐ ชั่วธนู
เป็นอย่างน้อย.
ที่ชื่อว่า เป็นที่รังเกียจ คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีสถานที่อยู่ ที่กิน ที่ยืน
ที่นั่ง ที่นอน ของพวกโจรปรากฏอยู่.
ที่ชื่อว่า มีภัยเฉพาะหน้า คือ ในอาราม อุปจารแห่งอาราม มีมนุษย์ถูกพวกโจร ฆ่า
ปล้น ทุบตี ปรากฏอยู่.
คำว่า ภิกษุ ... จะอยู่ในเสนาสนะป่า ... ความว่า ภิกษุจะยับยั้งอยู่ในเสนาสนะเห็น
ปานนั้น.
บทว่า ปรารถนาอยู่ คือ พอใจอยู่.
คำว่า จีวร ๓ ผืนๆ ใดผืนหนึ่ง ได้แก่ ผ้าสังฆาฏิ ผ้าอุตราสงค์ หรือผ้าอันตรวาสก.
คำว่า พึงเก็บ ... ไว้ในละแวกบ้านได้ คือ พึงเก็บไว้ในโคจรคามโดยรอบได้.
คำว่า และปัจจัยอะไรๆ เพื่อจะอยู่ปราศจากจีวรนั้น จะพึงมีแก่ภิกษุนั้น คือ
มีเหตุ มีกิจจำเป็น.
คำว่า ภิกษุนั้นพึงอยู่ปราศจากจีวรนั้นได้ ๖ คืนเป็นอย่างยิ่ง ความว่า พึงอยู่
ปราศจากได้เพียง ๖ คืนเป็นอย่างมาก.
บทว่า เว้นไว้แต่ภิกษุได้สมมติ คือ ยกเว้นภิกษุผู้ได้รับสมมติ.
คำว่า ถ้าเธออยู่ปราศยิ่งกว่านั้น ความว่า เมื่ออรุณที่ ๗ ขึ้นมา, จีวรนั้นเป็นนิสสัคคีย์
คือเป็นของจำต้องเสียสละแก่สงฆ์ คณะ หรือบุคคล.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุพึงเสียสละจีวรนั้นอย่างนี้:-