ต้องการเทียบเคียงกับ..

พระไตรปิฎก ไทย ฉบับหลวง พระไตรปิฎก บาลี ฉบับสยามรัฐ พระไตรปิฎก ไทย ฉบับมหามกุฏฯ พระไตรปิฎก ไทย ฉบับมหาจุฬาฯ
E-Tipitaka
  • เลือกเล่ม
    • ๑. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
    • ๒. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑
    • ๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๒
    • ๔. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
    • ๕. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
๑. ขุมทรัพย์จากพระโอษฐ์
๒. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑
๓. อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๒
๔. ปฏิจจสมุปบาทจากพระโอษฐ์
๕. พุทธประวัติจากพระโอษฐ์
ชุดจากพระโอษฐ์ ๕ เล่ม เล่มที่ ๒
อริยสัจจากพระโอษฐ์ ภาค ๑
หน้าที่ ๓๑๗
หน้าที่ 317

ลิงก์สำหรับจดจำหรือแบ่งปันหน้านี้

ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึด ขันธ์อันเป็นภายในด้วย และตัณหาวิจริต ๑๘ อย่าง ที่เข้าไปจับยึดขันธ์อันเป็นภายนอกด้วย เหล่านี้แล เรียกว่า ตัณหาวิจริต ๓๖ อย่าง. ภิกษุ ท. ! ด้วยเหตุนี้แหละ ตัณหาวิจริตอย่างนี้แล เป็นอดีต ๓๖ อย่าง, เป็นอนาคต ๓๖ อย่าง, และปัจจุบัน ๓๖ อย่าง, รวมเป็นตัณหาวิจริต ๑๐๘ อย่าง. ภิกษุ ท. ! นี่แลคือ ตัณหานั้น อันมีธรรมชาติเหมือนข่ายเป็นเครื่องดักสัตว์ มีธรรมชาติไหลนอง แผ่กว้าง เป็นเครื่องเกาะเกี่ยวของสัตว์, ซึ่งด้วยตัณหานั้นเอง สัตว์โลกนี้ ถูกปกคลุมหุ้มห่อไว้ ถูกทำให้ยุ่งเหยิงเหมือนด้ายยุ่ง ประสานกันสับสนดุจรังนก นุงนังเหมือนพงหญ้ามุญชะและปัพพชะ๑ จึงไม่ล่วงพ้นอบาย ทุคติ วินิบาต และสังสารวัฏไปได้ แล. - จตุกฺก. อํ. ๒๑/๒๘๙/๑๙๙. เหตุที่ทำให้ฟังธรรมไม่รู้เรื่อง (เพราะภวตัณหา) ภิกษุ ท. ! บุคคลประกอบอยู่ด้วยเหตุห้าอย่าง แม้ฟังธรรมอยู่ ก็ไม่อาจเพื่อจะก้าวลงสู่นิยาม คือความถูกต้องในกุศลธรรมทั้งหลาย. เหตุห้าอย่างอะไรเล่า ? ห้าอย่างคือ สนใจแต่คำพูด สนใจแต่ผู้พูด สนใจแต่ตัวเอง ๑. หญ้าสองชนิดนี้ เคยแปลกันว่า หญ้ามุงกระต่ายและหญ้าปล้อง แต่ไม่มีหลักฐานที่แน่นอน. ในที่นี้จึงไม่แปลไว้.